สิทธิในการได้รับเงินเดือนระหว่างลา

สิทธิในการได้รับเงินเดือนระหว่างลา

  1. การลาป่วย พนักงานมีสิทธิลาป่วยโดยได้รับเงินเดือนปีงบประมาณละไม่เกิน 30 วัน
    – ในกรณีที่เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานหรือประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยด้วยโรคที่ต้องพักรักษาตัวเป็นเวลานาน มีสิทธิลาป่วยโดยได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 90 วัน
    – การลาป่วยติดต่อกันตั้งแต่ห้าวันทำงานขึ้นไป ต้องมีหนังสือของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งรับรองถึงโรคที่เจ็บป่วยและระยะเวลาที่สมควรได้รับการพักรักษาตัว
  2. การลากิจ พนักงานมีสิทธิลากิจโดยได้รับเงินเดือน ปีงบประมาณลาะไม่เกิน 10 วันทำงาน
    – พนักงานที่ได้รับการทำสัญญาจ้างเป็นครั้งแรก ต้องมีเวลาทำงานนับแต่วันที่สัญญาจ้างมีผลใช้บังคับจนถึงวันสิ้นปีงบประมาณนั้น ไม่น้อยกว่า 6 เดือน จึงจะมีสิทธิ์ลากิจส่วนตัวได้ ตามส่วนของเวลาในปีงบประมาณนั้น และจะใช้สิทธิลาได้เมื่อมีเวลาทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  3. การลาคลอดบุตร พนักงานซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ มีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับเงินเดือนเท่ากับเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 90 วัน (รวมวันหยุด)
    – การลาคลอดบุตรจะได้สิทธิลาในวันที่คลอด ก่อนหรือหลังวันคลอดก็ได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 90 วัน
  4. การลาเพื่อทำหมันและการลาเนื่องจากการทำหมัน พนักงานมีสิทธิลาในเหตุดังกล่าว โดยได้รับเงินเดือนตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด และออกหนังสือรับรอง
  5. การลาพักผ่อนประจำปี พนักงานมีสิทธิลาพักผ่อนปีงบประมาณละ 10 วันทำงาน
    – พนักงานที่ได้รับการทำสัญญาจ้างเป็นครั้งแรกต้องมีเวลาทำงานนับแต่วันที่สัญญาจ้างมีผลบังคับจนถึงวันสิ้นปีงบประมาณนั้นไม่น้อยกว่า 6 เดือน จึงจะมีสิทธิลาพักผ่อนได้ตามส่วนของเวลาทำงานในปีงบประมาณนั้น และจะใช้สิทธิลาพักผ่อนได้เมื่อมีเวลาทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  6. การลาอุปสมบทและการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
    6.1 การลาอุปสมบท พนักงานที่นับถือศาสนาพุทธและทำงานกับ  สสวท. มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปี อาจขอลาอุปสมบทได้ไม่เกิน 120 วัน
    6.2 การไปประกอบพิธีฮัจย์ พนักงานที่นับถือศาสนาอิสลามและทำงานกับ สสวท. มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี อาจขอลาไปประกอบพิธีฮัจย์ได้ไม่เกิน 70 วัน
    – พนักงานที่ได้รับอนุญาตให้ลาตาม 6.1 และ 6.2 จะได้รับเงินเดือนตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ลา
  7. การลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหารหรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร พนักงานจะได้รับเงินเดือนในระหว่างลาเพื่อรับราชการทหาร
  8. สิทธิในการลาเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาพนักงาน
    8.1 การลาไปศึกษา
    8.2 การลาไปฝึกอบรมดูงาน
    8.3 การลาไปพัฒนาตนเองโดยการไปปฏิบัติงานวิจัย ศึกษาค้นคว้า เขียนตำรา ฯลฯ
    – พนักงานที่ได้รับอนุญาตให้ลาจะได้รับเงินเดือนตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ลา
  9. การลาไปต่างประเทศ พนักงานซึ่งประสงค์จะลาติดตามคู่สมรสที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานองค์การของรัฐซึ่งไปปฏิบัติหน้าที่ราชการในต่างประเทศอาจได้รับอนุญาตให้ลาได้ไม่เกิน 2 ปี พนักงานที่ได้รับอนุญาตให้ลาในกรณีนี้ ไม่มีสิทธิรับเงินเดือนระหว่างลา
    – สำหรับสิทธิในการได้รับเงินเดือนระหว่างลาของลูกจ้างชั่วคราวและผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยสวัสดิการและประโยชน์ตอบแทนผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษและลูกจ้างชั่วคราว พ.ศ. 2543
  10. การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร